วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรื่องราวที่น่าภาคภูมิ

ประวัติ

โรงเรียนอำนาจเจริญ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2494 ตามหนังสือของจังหวัดที่ 5858/2494 เปิดทำการสอนระดับ ม. 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 40 คน เปิดทำการสอนที่โรงเรียนบุ่งชาญวิทยา ปัจจุบันคือ โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ อำเภอเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ มีครูทำการสอนเพียง 1 คน คือ นายเปลี่ยน อุปริวงศ์ ปี พ.ศ. 2495 โรงเรียนอำนาจเจริญ ได้ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยาไปทำการสอนที่วัดสำราญนิเวศ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ และในปี พ.ศ. 2497 ได้ย้ายกลับไปทำการสอนที่โรงเรียนบุ่งชาญวิทยาตามเดิม ปี พ.ศ. 2500 ได้ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยาไปเปิดทำการสอนที่โรงเรียนอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอำนาจเจริญในปัจจุบัน โรงเรียนอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 67 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา ตั้งอยู่ เลขที่ 26 ถนนชยางกูร หมู่ที่ 13 ต.บุ่ง อ.เมือง จ. อำนาจเจริญ 37000

ประวัติโรงเรียนอำนาจเจริญ

(History Of Amnatcharoen School) โรงเรียนอำนาจเจริญอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งและทำการสอนเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2494 ตามหนังสือจังหวัดที่ 5858/2494 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2494 ในสมัยนายสมัย วัฒนสุข ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการจังหวัดอำนาจเจริญ การจัดการศึกษาได้พัฒนาเป็นลำดับดังนี้
  • พ.ศ. 2494 จัดตั้งและเปิดสอนในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2494 โดยใช้โรงเรียนบุ่งชาญวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา เปิดทำการสอน ชั้น ม.1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 40 คน ครู 3 คน
  • พ.ศ. 2495 ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยา ไปเรียนที่ศาลาวัดสำราญนิเวศน์ เนื่องจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยา รื้ออาคารเพื่อปลูกสร้างอาคารใหม่ เปิดทำการสอนระดับ ม.1 ม.2 รวม 2 ห้องเรียน นักเรียนทั้งหมด 77 คน ครู 5 คน นายเพียร จันทาป รักษาการแทนครูใหญ่
  • พ.ศ. 2496 เปิดทำการสอน ชั้น ม.1 ม.2 และ ม.3 นักเรียน 120 คน ครู 6 คน
  • พ.ศ. 2497 ย้ายจากวัดสำราญนิเวศน์ ไปเรียนที่โรงเรียนบุ่งชาญวิทยาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 นายสุจริต จันทกาญจน์ รักษาแทนครูใหญ่
  • พ.ศ. 2499 เปิดทำการสอน 4 ห้องเรียน คือ ม.1 – ม.4 จำนวนนักเรียน 179 คน ครู 9 คน นายสุจริต จันทกาญจน์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่ คนแรก ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น 1 หลัง 8 ห้องเรียน จำนวน 229,000 บาท บ้านพักครู 2 หลัง สร้างที่สนามม้าซึ่งเป็นที่ปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2500 ย้ายจากโรงเรียนบุ่งชาญวิทยา มาเรียนที่อาคารใหม่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2500 ครู 9 คน ได้รับงบประมาณ 1,400 บาท สร้างส้วม 2 หลัง
  • พ.ศ. 2501 เปิดทำการสอน ม.1 – ม.6 จำนวน 6 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 272 คน ครู 13 คน
  • พ.ศ. 2504 เปิดสอน 6 ห้องเรียน ครู 15 คน ได้รับงบประมาณ 15,000 สร้างโรงอาหาร 1 หลัง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2504
  • พ.ศ. 2506 เปิดทำการสอน ม.ศ.1 –ม.ศ 3 จำนวน 6 ห้องเรียน ครู 15 คน ภารโรง 2 คน
  • พ.ศ. 2507 ผู้ปกครองบริจาคสร้างรั้ว 10,000 บาท
  • พ.ศ. 2508 เปิดทำการสอน ม.ศ.1- ม.ศ.3 8 ห้องเรียน ได้รับงบประมาณ 90,000 บาท สร้างโรงฝึกงาน1 หลัง และใช้เงิน บกศ. สร้างลวดหนาม 3,600 บาท
  • พ.ศ. 2509 ศิษย์เก่าบริจาคสร้างเสาธง 1,500 บาท
  • พ.ศ. 2510 เปิดสอน 9 ห้องเรียน ม.ศ.1 – ม.ศ.3 นักเรียน 314 คน ครู 14 คน ภารโรง 3 คน ได้รับงบประมาณ 50,000 สร้างบ้านพักครู 1 หลัง
  • พ.ศ. 2512 ศิษย์เก่าบริจาค 2,000 บาท สร้างรั้วประตู ได้รับงบประมาณ 240,000 บาท สร้างอาคารไม้ สร้างหอประชุม 200,000 บาท
  • พ.ศ. 2513 เปิดสอน ม.ศ.1 – ม.ศ.3 12 ห้องเรียน ครู 22 คน ได้รับงบประมาณ 30,000 บาท สร้างส้วม 3 หลัง และงบประมาณ 70,000 บาท สร้างอาคารคหกรรม
  • พ.ศ. 2514 ได้รับงบประมาณ 100,000 บาท สร้างบ้านพักครู 2 หลัง และได้รับงบประมาณ 486,000 บาท
  • พ.ศ. 2515 ได้รับงบประมาณ 100,000 บาท สร้างบ้านพักครู 2 หลัง งบประมาณ 42,000 บาท สร้างบ้านพักภารโรง 1 หลัง 42,500 สร้างส้วม 1 หลัง
  • พ.ศ. 2517 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ 216 จำนวน 6 ห้องเรียน 480,000 บาท
  • พ.ศ. 2518 ได้รับอนุญาต ให้เปิดทำการสอนระดับ ม.ปลาย จำนวน 2 ห้องเรียน 70,000 บาท สร้างส้วม 2 หลัง ด้วยเงินงบประมาณ 60,000 สร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง โดยผู้ปกครองนักเรียนให้การช่วยเหลือ เปิดสอนม.ศ.4 หลักสูตร 2518
  • พ.ศ. 2519 ได้รับงบประมาณ สร้างบ้านพักครู 1 หลัง ราคา 80,000 บาท บ้าพักภารโรง 1 หลัง ราคา 40,000 บาท และสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก. 1 หลัง ราคา 1,040,000 บาท
  • พ.ศ. 2521 เปิดสอนชั้น ม.ศ.1 – ม.ศ.5 จำนวน 46 ห้องเรียน นักเรียน 1,836 คน ครู 98 คน นายสุจริต จันทกาญจน์ ย้ายไปรักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมตระการพืชผล นายณรงค์ ไชยกาล ย้ายจากโรงเรียนกันทรารมย์ มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ ได้รับงบประมาณ 300,000 บาทสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 10 ห้องเรียน และต่อเติมอาคารเรียนแบบ 216 ก. จำนวน 8 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2522 การจัดห้องเรียน 8-8-1-1-9-0 ชั้น ม.1 – ม4 สอนตามหลักสูตร พ.ศ. 2521 ม.ศ.4 –ม.ศ.5 สอนตามหลักสูตร 2518 มีห้องเรียน 8ห้องเรียน นักเรียน 2,247 คน ครู 114 คน นายเกษม คำทวี ย้ายจากโรงเรียนกันทรารมย์ มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนเดชอุดม เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2524 วันที่ 1 ตุลาคม 2524 นายเกษม คำทวี ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่โรงเรียนเบญจะมะหาราช จังหวัดได้แต่งตั้งให้นายเปลี่ยน อุปริวงศ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการชั่วคราว จนถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2524 นายokนายสมพงษ์ โลมะรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมะมหาราชได้มารักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ เป็นการชั่วคราว
  • พ.ศ. 2526 เปิดสอนระดับ ม.1 – ม.6 การจัดชั้นเรียน 8-8-8/12-10-9 จำนวนนักเรียน 2552 คน ครู 124 คน ภารโรง 12 คน นายมนู ส่งเสริม ได้ย้ายมารักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้รับงบประมาณ 130,000 บาท จัดซื้อวัสดุ วิชาอุตสาหกรรม และ 40,0 บาท จัดซื้อวัสดุ วิชาศิลป์
  • พ.ศ. 2527 เปิดสอนระดับ ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-10 ครู 140 คน นักการภารโรง 12 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ. 2528 เปิดสอนตั้งแต่ ม.1 – ม. 6 จัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-12 นักเรียน 2,818 คน ครู 132 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างหอประชุมเอนกประสงค์จำนวน 2,000,000 บาท
  • พ.ศ. 2529 เปิดสอน ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-12 นักเรียน 2,678 คน ครู 133 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอุตสาหกรรม เป็นเงิน 1,560,000 บาท
  • พ.ศ. 2530 เปิดสอน ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-11-12 ครู 134 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง และสร้าง 1 หลัง งบประมาณ 300,000 บาท
  • พ.ศ. 2532 เปิดสอน ม.1 – ม.6 การจัดแผนการเรียน 8-8-8/12-12-12 ครู 137 คนนักเรียน 2,331คน วันที่ 31 ตุลาคม 2532 นายเจริญ ช่วงชิง ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง โรงเรียนอำนาจเจริญ นายมนู ส่งเสริม ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเดชอุดม ในวันที่ 31 ตุลาคม 2532
  • ปีการศึกษา 2533 โรงเรียนอำนาจเจริญ ได้รับการกำหนดให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตรการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ร่วมกับ 550 โรงเรียนทั่วประเทศ
ปีงบประมาณ 2533 โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา ให้เปิดรับนักเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแผนการจัดชั้นเรียน10-8-8/10-8-12 รวม 56 ห้องเรียน นักเรียน 2,249 คน ครู –อาจารย์ 135 คน นักการภารโรง 14 คน ยาม 3 คน
  • ปีการศึกษา 2534 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาขาที่ตำบลนาวัง มีนักเรียน ม.1 จำนวน 61 คน และได้อาศัยอาคารเก่าในโรงเรียนบ้านโคกช้างฮ้าย เป็นที่เรียนชั่วคราว
  • ปีการศึกษา 2535 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาขาเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง คือ โรงเรียนอำนาจเจริญ สาขาตำบลนาจิก 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 62 คน และสาขาตำบลสร้างนกทา 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 46 คน
  • ปีการศึกษา 2536 โรงเรียนอำนาจเจริญมีนักเรียนทั้งสิ้น 2,509 คน นักเรียนโรงเรียนอำนาจเจริญ สาขาตำบลนาวัง 192 คน สาขาตำบลนาจิก 142 คน และสาขาตำบลสร้างนกทา 126 คน
  • ปีการศึกษา 2537 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาขาตำบลบุ่ง เพื่อเตรียมจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดอำนาจเจริญแห่งที่ 2 รับนักเรียน ม.1 ได้ 2 ห้องเรียน โรงเรียนสาขาตำบลนาวังได้รับประกาศจัดตั้งเป็นเอกเทศชื่อโรงเรียนนาวังวิทยา
  • ปีการศึกษา 2538 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,509 คน (13-12-12/12-10-9) สาขาตำบลบุ่ง 217 คน (3-2-0) สาขาตำบลสร้างนกทา 187 คน (2-2-2) สาขาตำบลนาจิก ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นเอกเทศชื่อ โรงเรียนนาจิกพิทยาคม
  • ปีการศึกษา 2539 มีแผนชั้นเรียน 12-13-12/13-12-10 สาขาตำบลบุ่ง 3-3-2 สาขาตำบลสร้างนกทา 2-2-2 และได้รับงบประมาณก่อสร้างห้องน้ำ ห้องส้วมนักเรียน จำนวน 1 หลัง
  • ปีการศึกษา 2540 มีแผนชั้นเรียน 14-12-13/14-13-12 สาขาตำบลบุ่ง 3-3-2 สาขาตำบลสร้างนกทา 3-2-2 ได้ย้ายนักเรียนสาขาตำบลบุ่งไปเรียนที่บ้านดอนหวายตาใกล้ โดยก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 2 หลัง
  • ปีการศึกษา 2541 มีแผนชั้นเรียน 14-14-12/14-14-13 สาขาตำบลบุ่ง และสาขาตำบลสร้างนกทา ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นเอกเทศชื่อ โรงเรียนอำนาจเจริญ 2 และโรงเรียนสร้างนกทาวิทยาคม
  • ปีการศึกษา 2542-2547 โรงเรียนสามารถรับนักเรียนให้เป็นไปตามแผนการจัดชั้นเรียนที่กรมอนุมัติทุกประการ แผนจัดชั้นเรียนเต็มรูป คือ 12-12-12/14-14-14 รวม 78 ห้องเรียน
วันที่ 5 ธ.ค. 43 รับมอบพระพุทธรูปพร้อมฐานไว้ประจำโรงเรียน
  • 12 มิถุนายน 2544 โรงเรียนได้ประกอบพิธีเปิดอาคาร 5 อาคาร 32ล/41 หลังคาทรงไทยมูลค่า 19 ล้านเศษ และรับมอบโรงอาหารตามโครงการ "ธนาคารน้ำใจ" จาก 5 องค์กรหลักมูลค่า 2 ล้านบาท
  • 14 กุมภาพันธ์ 2545 โรงเรียนได้รับบริจาคที่ดินแปลงที่ 2 จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 15 ตารางวา เพื่อสร้างสนามกีฬา และรับมอบสนามกีฬามูลค่า 1.4 ล้านบาท จากกรมพลศึกษา
  • 12 เมษายน 2545 โรงเรียนได้รับมอบศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยได้รับวัสดุฉางข้าวจาก ร.พ.ช. และค่าก่อสร้างจากชุมชน มูลค่า 3 ล้านบาท
  • 1 มกราคม 2546 พิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ โดยปรับปรุงจากโครงสร้างเดิมของโรงอาหาร
  • ปีการศึกษา 2546 มีแผนชั้นเรียนเป็น 12-11-11/14-14-14 รวม 76 ห้องเรียน
  • ปีการศึกษา 2547 ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ให้เป็นห้องสมุด ICT
  • ปีการศึกษา 2548 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก บริษัท เกียรติสุรนนท์ จำกัด ในการก่อสร้างอาคาร ICT จำนวนเงิน 7 ล้านบาท และโรงเรียนได้ดำเนินการ ปรับปรุงอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องทำงาน ฝ่ายบริหาร ครู อาจารย์ ตามโครงการห้องเรียนน่าอยู่ มีแผนการจัดชั้นเรียน 12-11-11/14-14-14 รวม 76 ห้องเรียน ครูอาจารย์ 124 คน นักเรียน 3,224 คน ลูกจ้างประจำ 14 คน ลูกจ้างชั่วคราว 6 คน
  • ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนได้จัดชั้นเรียนเป็น 14-11-11/11-11-11 รวม 69 ห้องเรียน มีนักเรียน 3531 คน ครูอาจารย์ 126 คน นักการภารโรง 14 คน พนักงานและลูกจ้างชั่วคราว 7 คน

  • ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนได้จัดชั้นเรียนเป็น 14-14-11/14-11-11 รวม 75 ห้องเรียน มีนักเรียน 3640 คน ครูอาจารย์ 126 คน นักการภารโรง 14 คน พนักงานและลูกจ้างชั่วคราว 7 คน
  • ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ
  • 1. นายเปลี่ยน อุปริวงศ์ ปี พ.ศ. 2494 - 2495
  • 2. นายเพียร จันทาป ปี พ.ศ. 2495 - 2497
  • 3. นายสุจริต จันทกาญจน์ ปี พ.ศ. 2497 – 2515
  • 4. นายจรูญศักดิ์ จำปาวัลย์ ปี พ.ศ. 2515 – 2521
  • 5. นายณรงค์ ไชยกาล ปี พ.ศ. 2521 – 2524
  • 6. นายเกษม คำทวี ปี พ.ศ. 2524 – 2524
  • 7. นายสมพงษ์ โลมะรัตน์ พ.ศ. 2524 – 2525
  • 8. นายมนู ส่งเสริม ปี พ.ศ. 2525 – 2532
  • 9. นายเจริญ ช่วงชิง ปี พ.ศ. 2532 – 2535
  • 10.นายสมพงษ์ โลมะรัตน์ ปี พ.ศ. 2535 – 2541
  • 11.นายรักษา ศรีภา ปี พ.ศ. 2541 – 2543
  • 12.นายพงษ์สวัสดิ์ ลาภบุญเรือง ปี พ.ศ. 2543 – 2543
  • 13.นางจริยา สารการ ปี พ.ศ. 2543 - 2547
  • 14.นายอรุณ ธานี ปี พ.ศ. 2547-2548
  • 15.นายจักรทิพย์ กีฬา พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน

    อาคารต่างๆ

    • อาคารเรียนหลังที่ 1 เป็นอาคารสูงสามชั้น ประกอบไปด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ห้องพยาบาล สหกรณ์ร้านค้า ห้องเรียนสีเขียว และห้องเรียน
    • อาคารเรียนหลังที่ 2 เป็นอาคารสูงสามชั้น ประกอบไปด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ห้องจริยธรรม ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ห้อง SEAR และห้องเรียน
    • อาคารเรียนหลังที่ 3 เป็นอาคารสูงสองชั้น ประกอบไปด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาต่างประเทศ ศุนย์ประสานงาน AFS ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ และห้องเรียน
    • อาคารเรียนหลังที่ 4 เป็นอาคารสูงสามชั้น ประกอบไปด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และห้องเรียน
    • อาคารเรียนหลังที่ 5 เป็นอาคารสูงสี่ชั้น ประกอบไปด้วยกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ และห้องเรียน
    • อาคารเรียนหลังที่ 6 เป็นอาคารสูงสามชั้น เป็นห้องเรียนทั้งอาคาร
    • อาคารศิลปะ
    • อาคารเกียรติสุรนนทท์ เป็นอาคารสูงสองชั้น ประกอบไปด้วยห้องประชุม และห้องเรียนคอมพิวเตอร์
    • อาคารเอนกประสงค์ เป็นที่ตั้งของหอประชุมเอนกประสงค์
    นอกจากนี้ยังมีโรงฝึกงานของกลุ่มสาระการงานอาชีพ(คหกรรม,อุตสาหกรรม,เกษตร) ห้องพลานามัย, อาคารประชาสัมพันธ์, โรงอาหาร และศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ


ครูดีในดวงใจ คุณครู นายสมบูรณ์  ประเสริญไทยดเจริญ

ประวัติส่วนตัว

เกิดวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2499

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่6  จาก โรงเรียนเซนต์จอห์น กรุงเทพ

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประวัติการทำงาน เข้ารับราชการครูเมื่อปี พ.ศ. 2524